วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Egypt

ประเทศสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์






อียิปต์ (egypt) สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt)หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt)(อาหรับ: مصر (มิศรุ), ถ่ายเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mişr หรือ Maşr ในภาษาถิ่นของอียิปต์) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ
ชื่อ Egypt มาจากชื่อภาษาละตินว่า Aegyptus และชื่อภาษากรีก ว่า Αιγυπτος (Aiguptos:ไอกึปตอส นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์) จากภาษาอียิปต์โบราณว่า Hi-ku-ptah: ฮิ-คุ-ปตาห์ ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองเทเบส

1. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป

ที่ตั้ง - ตั้งอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก เป็นที่ตั้งทางการค้าที่สำคัญ และเป็นจุดเชื่อมโยงการค้าระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกาและเอเชีย
ทิศเหนือ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทิศตะวันออกติดกับทะเลแดงโดยมีคลองสุเอซเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างทะเลแดงและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมการเดินทางที่มีความสำคัญมาแต่สมัยโบราณ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับ ปาเลสไตน์ อิสราเอลและจอร์แดน
ทิศใต้ ติดกับ ซูดาน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ ลิเบีย




พื้นที่ - อียิปต์มีเนื้อที่ 997,938 ตารางกิโลเมตร หรือ 385,305 ตารางไมล์ประมาณเกือบ 1 เท่าของประเทศไทย พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นทะเลทรายและภูเขา โดยมีแม่น้ำไนล์ซึ่งไหลมาจากภาคใต้ของประเทศลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคเหนือ และก่อให้เกิดที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของอียิปต์ สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก และใช้เป็นที่อยู่อาศัยประมาณ 5 %

ภูมิอากาศ - อียิปต์มีภูมิอากาศ ร้อน แห้ง และอากาศหนาวระดับปานกลาง แบ่งเป็น 4 ฤดู ดังนี้ คือ
ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม) อุณหภูมิ 15-32 °C
ฤดูร้อน (มิถุนายน -สิงหาคม) อุณหภูมิ 21-43 °C
ฤดูใบไม่ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) อุณหภูมิ 19-34 °C
ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อุณหภูมิ 8-20 °C
เป็นเดือนที่อาจมีฝนตก แต่ปริมาณน้ำฝนใม่มากนัก เฉลี่ย 42 ม.

ประชากร - มีจำนวนประมาณ 74 ล้านคน (ปี 2549) อยู่ในเขตเมืองร้อยละ 45 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณ 2 ฝั่งและที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ Fallaheen, Beduin และ Nubian
อัตราเพิ่มของประชากร ประมาณปีละ 1.9 % อายุเฉลี่ย 65 ปี

ความหนาแน่นประชากร - โดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 75.68 คน/ตร.กม.
กรุงไคโรและ ปริมณฑลมีประชากรประมาณ 16 ล้านคน มีความหนาแน่นมากที่สุดเฉลี่ย 34,000-35,000 คน/ตร.กม. รองลงมาคือ เมือง Alexandria มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ความหนาแน่นเฉลี่ย 13,000-15,000 คน/ตร.กม. และเมือง Port Said มีประชากร 526,000 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 8,800-9,000 คน/ตร.กม.

เมืองสำคัญ - กรุงไคโร (Cairo) เมืองหลวง เป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริหารราชการ สถานเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ และมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว และเขตพื้นที่อุตสาหกรรม ตลอดจนแหล่งจ้างงาน
เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ ตลอดจนเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า และแหล่งพื้นที่เพาะปลูกฝ้าย
เมืองพอร์ท ซาอิด (Port Said) เป็นเมืองท่าสำคัญ และเป็นเขตปลอดภาษี
เมืองท่องเที่ยว ได้แก่ Cairo, Luxor, Aswan (ชมโบราณสถาน)
และเมือง Hurghada และ Sharm El Sheikh (ชมปะการังและสัตว์ใต้น้ำ)

ภาษา -
ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ภาษาต่างประเทศที่ใช้คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส

ศาสนา - ประมาณร้อยละ 94 นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ (Sunni) อีกร้อยละ 4 นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอค

แรงงาน - 23.93 ล้านคน (ปี 2549) โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 29อุตสาหกรรม ร้อยละ 22 และการบริการ ร้อยละ 49

เวลา - เดือนตุลาคม – เมษายน เวลาในประเทศอียิปต์ช้ากว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง (+3 เวลากรีนิช)
เดือนพฤษภาคม-กันยายน เวลาในประเทศอียิปต์ช้ากว่าประเทศไทย 4 ชั่วโมง (+2 เวลากรีนิช)

เวลาทำงาน - ส่วนใหญ่จะเปิดทำการวันอาทิตย์-วันพฤหัสบดี เวลา 8.30 -15.00 น.
รวมทั้งธนาคารและสถานที่ราชการบางแห่งเปิดทำการ วันเสาร์-วันพุธเวลา 8.30-14.00 น.
กิจการร้านค้าทั่วไป เปิดจำหน่ายทุกวัน เวลา 10.00-22.00 น. หรือบางแห่งปิดเฉพาะวันศุกร์

เงินตราอียิปต์ - ปอนด์อียิปต์ เป็นสกุลเงินของประเทศอียิปต์
มีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 5.66 ปอนด์อียิปต์ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 6 บาท ต่อ 1 ปอนด์อียิปต์
เหรียญที่ใช้ได้แก่ เหรียญ 5, 10, 20, 25, 50 ปิอาสเตอร์ และ 1 ปอนด์






ธนบัตรที่ใช้ได้แก่ ธนบัตร 5, 10, 25, 50 ปิอาสเตอร์, 1, 5, 10, 20, 50, 100 และ 200 ปอนด์ และสามารถแลกเงินเป็นของไทยได้ 5 บาทต่อ 10 ปิอาสเตอร์





ระบบการชั่ง ตวง วัด ใช้มาตรฐานการชั่ง ตวง วัด ระบบสากล กิโลกรัม/ เมตร/ เซนติเมตร
ดอกไม้ประจำชาติอียิปต์ คือ ดอกบัวอียิปต์ Egyptian Water Lily หรือ Nymphaea





ท่าเรือสำคัญ ท่าเรือหลัก คือ Alexandria, Port Said, Damietta, Suez และ Dekheila, Arish, East Port Said, Adabia, Sokhna ,Safaga, Nuweiba, Sharm-El-Sheikh

ท่าอากาศยานสำคัญ Cairo Int’l Airport, Taba Airport, Sharm El Sheikh Airport, Hurghada Airport, Luxor Airport, Aswan Airport

2.ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา

ประเทศอียิปต์ เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาถึง 5,000 ปี เราจะมาเริ่มจาก ช่วงปลายยุคหินเก่า ในทวีปแอฟริกาตอนเหนือมีสภาพอากาศที่ร้อนมาก และแห้งแล้ง ทำให้คนจำนวนมากอพยพลงมาอาศัยอยู่บริเวณรอบๆที่ราบลุ่มแม่น้ำไนท์ และกลุ่มชนล่าสัตว์ เก็บพืชเร่ร่อนเริ่มอาศัยเป็นหลักแหล่งเมื่อประมาณ 1.8 ล้านปีที่แล้ว แม่น้ำไนท์จึงเป็นสายชีวิตของอียิปต์มาช้านาน ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณรอบแม่น้ำไนล์ เสมือนหนึ่งธรรมชาติหยิบยื่นโอกาสให้แก่มนุษย์ที่จะตั้งถิ่นฐาน พัฒนาการเกษตร, เศรษฐกิจ, และสังคม อันเป็นจุดก่อกำเนิดอารยธรรมของอียิปต์โบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นเมื่อ 3150 ปีก่อนคริสตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกของอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 3,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือรู้จักกันว่า “ ราชอาณาจักร “ มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันว่า “ ราชอาณาจักรใหม่ “ อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาน้อยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่อียิปต์พ่ายแพ้สงครามจากอำนาจของชาติอื่น จนกระทั่ง 31 ปี ก่อนคริตศักราชก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 3,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลก หลังจากนั้นจักรวรรดิโรมันล่มสลายและ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1882 อียิปต์ก็ได้เปลี่ยนไปเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อังกฤษได้ส่งเรือรบไปยังเมืองท่าของเอล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช อียิปต์ได้ปกครองโดยราชวงส์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัดได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปครองมาอีก 2 พระองค์คือ พระเจ้าฟูรักที่ 1 และ พระเจ้าฟูอัดที่ 2 ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ ได้มีการรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน

3.ลักษณะทางวัฒนธรรม

ภาษา อียิปต์ ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาประจำชาติ
ภาษาอาหรับ (อาหรับ: العربية‎ , al-'arabiyyah) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ

ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรีย

ศาสนา ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าและมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ 94% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ อีก 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก

พระพุทธศาสนาในประเทศอียิปต์เริ่มต้นขึ้น เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งมคธได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างอาณาจักร โดยอาณาจักรไกริน ซึ่งอยู่ใกล้กับอียิปต์ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย พร้อมกันนนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่ด้วย ในบริเวณเมืองอเล็กซานเดรีย ของอียิปต์ด้วย แต่ก็สูญหายไป

ต่อมาอีกหลายศตวรรษได้มีชาวญี่ปุ่น ลังกา เกาหลี อินเดีย และไทย เดินทางเข้าไปทำงาน ศึกษา หรือท่องเที่ยว และได้มีการถ่ายทอดความรู้หลักธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาต่างๆให้แก่ชาวอียิปต์ แต่ก็มีชาวพุทธอียิปต์ไม่เกิน 1 หมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมืองไคโร และเมืองอเล็กซานเดรีย นอกจากนั้น ชาวพุทธต่างถิ่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ ในช่วงวันวิสาขบูชาจะปฏิบัติศาสนกิจด้วยการเวียนเทียนกันเป็นกลุ่มเล็กๆ และมีการแสดงหลักธรรมเป็นเวลาสั้นๆ ส่วนการเผยแผ่ศาสนานั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป็นสังคมเล็กๆท่ามกลางสังคมมุสลิม

อียิปต์แบ่งความเจริญออกเป็น 3 ยุค คือ
1. ยุคแรก เรียกว่าโอลด์คิงดอม “Old Kingdom” เริ่มตัง้ แต่คริสต์ศักราช 2780 – 2280 ปีก่อนคริสตกาล
2. ยุคกลาง มิดเดิลคิงดอม “Middle Kingdom” เริ่มตัง้ แต่คริสต์ศักราช 2065 – 1660 ปีก่อนคริสตกาล
3. ยุคใหม่ เรียกว่า นิวคิงดอม “New Kingdom” เริ่มตั้ง แต่คริสต์ศักราช 1980 - 950 ปีก่อนคริสตกาล

ยุคแรก
ชาย นุ่งผ้าสั้น ใช้ผ้าพันรอบสะโพก คาดเอว ทิ้ง ชายไว้ด้านหน้า ไม่สวมเสื้อ ส่วนคนทำงานจะนุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้า หรือผ้าเตี่ยว เรียกว่า ลอยน์โคลท (Lion cloth) ไทรแองกูล่า แอพพร่อน(Triangular Apron) ส่วนของกษัตริย์ ใช้ผ้าที่หรูหรากว่า คือผ้าที่ใช้เป็นผ้าทอด้วยด้ายทอง และมีลักษณะจับ จีบไว้ข้างหน้า
หญิง แต่งกายเช่นเดียวกับผู้ชาย คือ ใช้ผ้าชิน้ เดียว นุ่งเป็นทรงแคบคล้ายปลอกเรียกว่า
ชิทกาวน์ (Sheath gown) เริ่มแต่ใต้อกถึงข้อเท้า มีสายสะพายดึงไว้ที่ไหล่ทัง้ 2 ข้าง
หลักฐานทางด้านการแต่งกายของอียิปต์ที่ได้จากซากศพ และภาพวาดในสมัยนีช้ ายก็ยัง
ใช้ผ้าลอยโคลท แต่นุ่งหลวมกว่าในระยะแรก และรูจักลงแป้ งผ้าให้แข็ง


การแต่งกายของชาวอียิปต์ยุคแรก





ยุคที่ 2 คือ ยุคกลาง Middle Kingdom
ชาย เริ่มใช้ผ้านุ่งหลายชัน้ ซ้อนกันแต่สัน้ ยาวลดหลั่น ทำให้ดูเป็นรูปเหลี่ยมชัน้ ในสุดจะนุ่งกางเกงขาสั้นๆ เสือ้ ยาวถึงข้อเท้า
หญิง เสื้อ ผ้าของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เนื่องจากเกิดความไม่สงบภายในบ้านเมือง
การแต่งกายจึงหยุดชะงักลงชั่วระยะหนึ่ง


การแต่งกายของชาวอียิปต์ยุคที่ 2




ยุคที่ 3 New Kingdom
ยุคใหม่ เสื้อ ผ้าของชายหญิงได้เปลี่ยนแปลงไป ชาวซีเรียนเคยยกทัพมาตีอียิปต์ ทำให้ชาวอียิปต์ลอกเลียนแบบการแต่งกายบ้าง เช่น ใส่ชุดยาวคร่อมเท้าเสือ้ คลุมไหล่ทัง้ 2 ข้าง ซึ่งแต่เดิมคลุมไหล่เพียงข้างเดียว การใช้ผ้าคลุมไหล่และแขนคล้ายเสือ้ ทำให้ดูไม่เปลือย แต่ผ้าที่ใช้คลุมก็บางและลงแป้งจนแข็งทำให้เห็นรูปร่างได้ถนัด ผ้านุ่งก็ยังนิยมจีบ
ในแผ่นดินยุคใหม่ มีกษัตริย์ คือ อเมนโอเทปที 4 “Amentotep IV” เป็นคนไม่เชื่อของเก่านับถือพระอาทิตย์ พระราชินี แต่งองค์ด้วยชุดยาวถึงมีการจีบเป็นชัน้ ๆ ดูนิ่มนวลขึน้ ถ้าเป็นชาวบ้านไม่ใส่รองเท้าเพราะรองเท้าใช้เฉพาะกษัตริย์ และพระสงฆ์
การแต่งกายของพระสงฆ์ แต่งเหมือนกับกษัตริย์ แต่มีสัญลักษณ์ที่ต่างกัน คือ พระห่ม
หนังเสือทั้ง ตัว มีหางติดอยู่ด้วย
พวก Upper Egypt จะสวมหมวกสีขาว
พวก Lower Egypt สวมหมวกแดง หน้าหมวกประดับด้วยงู
ในยุคใหม่นี้ ตอนปลายสมัยเสื้อ ผ้าที่นิยมสีสันสดใสฉูดฉาด และมีจีบจะหายไปเนื่องจาก
ได้รับอิทธิพลจากชาวเอเซียบ้าง จะใช้ครุย ใช้ดอกไม้ เครื่องประดับเพชรพลอยสีมาทำเป็นสร้อยคาดเอว และประดับที่คอมาใช้แทน ชาวอียิปต์เริ่มนิยมใช้แป้ ง น้ำ หอม น้ำมัน เครื่องประดับผม ทาคิว้ สีเข้ม ใช้อายแชโดสีเขียวเหมือนในหนังคลีโอพัตรา ชายไม่มีหนวด ถ้ามีงานพิธีจะใส่หนวดปลอม ผมใช้วิกทำด้วยขนสัตว์ หรือผมปลอม หรือฝ้ ายประดับด้วยงู ปลายยุคใหม่หยงจะทำผมทรงรูปสามเหลี่ยมเครื่องประดับ ใช้พัดขนนก สร้อยทอง หินสีน้ำ เงินเส้นใหญ่ คล้องคอ คาดเอว กระจกรองเท้ากษัตริย์ทำจากต้นปาล์ม

การแต่งกายในยุคปัจจุบัน
ชาย นุ่งกางเกงสีดำ ใส่เสื้อ เชิ้ต สีมอ ๆ มีเสื้อกั๊ก สีดำปักลวดลายด้วยไหมสีต่าง ๆ สด
และสะดุดตา





หญิง นุ่งกระโปรงจีบรูดเป็นลวดลายดอกไม้สีสดใสยาวถึงข้อเท้าใส่เสือ้ สเว้ตเตอร์สีสดเข้ากัน ไว้ผมยาว มีผ้าโพกศีรษะลวดลายเป็นดอกดวง ไม่จำเป็นต้องให้สีเข้ากันกับกระโปรงหรือเสื้อหนาว ใส่ต่างหู ถ้าไม่ใส่คู่ก็ใส่ข้างเดียวมีดอกไม้ทัดหู ฤดูร้อนไม่ใส่รองเท้า เวลาเดินจะได้ยินเสียงกระพวนที่ข้อเท้า หรือเวลาร้องรำทำเพลง ทุกวันนี้ผู้หญิงนำเอา กระโปรงจีบรูดที่มีดอกดวงสีสันสดใสมาใส่กัน




ศิลปะอียิปต์โบราณ
ศิลปะอียิปต์ ( 2650 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย

จิตรกรรม
งานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว

ประติมากรรม
งานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็ เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังการมีทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็กมักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯ
ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย ในที่นี้ทางเราจึงให้ข้อมูลครบถ้วน

สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมอียิปต์ ใช้ระบบโครงสร้างเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตร พิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมาจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

ลักษณะของชาวอียิปต์
โดยทั่วไปคนอียิปต์ที่มีการศึกษาดีสามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นๆ ได้ และผู้เดินทางท่านใดที่สามารถพูดภาษาอาหรับแม้เพียงไม่กี่คำก็เอาตัวรอดได้ เนื่องจากคนพื้นเมืองโดยทั่วไปมีประเพณีการต้อนรับแขกมาตั้งแต่โบราณแล้ว
คนอียิปต์เป็นคนที่มีอัธยาศัยดี คุ้นเคยต่อนักท่องเที่ยว กระตือรือร้นที่จะทักทายกับชาวต่างชาติโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และมักจะยินดีที่นักท่องเที่ยวมาเยือนอียิปต์ ในการสนทนา คนอียิปต์มักจะสบตากับคู่สนทนาเพื่อเป็นการให้เกียรติ และชอบใช้สัญลักษณ์ เช่นการใช้สัญญาณมือประกอบการอธิบายต่างๆ ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้แตกต่างจากสากล จึงควรที่จะเรียนรู้จากคนท้องถิ่นไว้บ้าง นอกจากนี้ สุภาพสตรีควรหลีกเลี่ยงการถูกสัมผัสตัวโดยเฉพาะจากเพศตรงข้าม และการโอบกอดในที่สาธารณะ

4.พฤติกรรมการบริโภค

อาหารหลักของคนอียิปต์
การกินอาหารของคนในตะวันออกกลางจะมีความแตกต่างมากกับคนในเอเชียเราและอาหารหลักของทุกชนชั้นของคนอียิปต์ นั้น คือ ขนมปัง หัวหอม พวกผักต่างๆ แล้วก็ปลาแห้ง การประกอบอาหารก็คือการ อบ ย่าง เผา ต้ม และทอด นอกจากนี้ คนอียิปต์จะมีน้ำเชื่อมซึ่ง ทำจากผลไม้ อาทิเช่นพวก องุ่น เพื่อให้ได้รสหวานและจะกินกับขนปังซึ่งจะใช้ขนมปังจิ้มกับน้ำเชื่อม และนอกจากนั้น ยังมีการใช้ในน้ำผึ้ง เกลือ กระเทียม หัวหอม ในการปรุงรสให้อร่อยด้วย และนอกจากขนมปังแล้วเขาจะกินโยเกิตย์พร้อมๆกับเมนูอาหารหลักอีกด้วยส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์นี้ก็มี สัตว์ที่นิยมรับประทานก็คือพวก เนื้อแกะ แพะ และเนื้อวัว
อาหารประเภทกาบับ ( Kabab ) ก็เป็นเนื้อ หรือ แพะ ย่างโดยมีเหล็กแหลม เสียบชิ้นเนื้อโดยหมุนชิ้นเนื้อให้ไฟเลียไปทั่วๆ กินกับผักทั้งผักสดเช่น แตงกวา มะเขือเทศ ต้นหอม กับผักดองเช่น แตงกวา มะเขือเปาะ หัวหอม แครอท

อาหารของชาวอียิปต์นั้น มันมีการแบ่งชนชั้น พวกคนชั้นแบบชาวนา ก็กินแค่หัวหอม ขนมปัง แล้วก็พืชพรรณที่เก็บได้ ส่วนชนชั้นสูงก็จะมีเนื้อสัตว์เสริมด้วย และ ชนชั้นสูงเท่านั้น ที่จะสามารถ รับประทานเนื้อสัตว์ได้ สัตว์ที่นิยมรับประทานก็คือพวก เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อวัว
การรับประทานไข่ในอียิปต์นั้น ก็มีบ้าง แต่ ไม่นิยมมากนัก ส่วนมากชาวอียิปต์จะนิยมเลี้ยงสัตว์ ที่เป็นไข่ ให้ฝักออกมา แล้วกินเป็นตัวมากกว่า ส่วนไข่ที่นิยมรับประทานนั้น ก็คือไข่ของเป็ด

นอกจากนั้นชาวอียิปต์ กลุ่มหนึ่งก็นิยมการรับประทานเนื้อปลา ที่บอกว่ากลุ่มหนึ่งนั้นก็เพราะว่า ไช่ทุกคนที่กลินเนื้อปลา มีเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น (เพราะว่าอาจจะมีกลุ่มบางกลุ่มเชื่อว่า เนื้อปลาไม่สะอาด อาทิเช่น พวกนักบวช ) การรับประทานเนื้อปลานั้น นิยมรับประทานเนื้อปลาแห้งๆกัน ไม่นิยมกินสด เพราะเชื่อว่าไม่สะอาด และใน บันทึกของ Herodotus ก็ยังบอกว่า นักบวช ไม่ไดรับอนุญาตให้ลิ้มรสปลา
ส่วนการประกอบเมนูอาหารของชาวอียิปต์โดยใช้ปลาเป็นส่วนประกอบนั้นจะนิยมเอาไปต้ม ย่าง แล้วก็ดองเค็ม

5. การเมือง การปกครอง

อียิปต์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข การเลือกตั้งประธานาธิบดีกระทำโดยการลงประชามติ และจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ปัจจุบันนาย Mohamed Hosni Mubarak เป็นประธานาธิบดี ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 4 โดยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 สมัชชาประชาชน (People’s Assembly) ของอียิปต์ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 454 คน ได้ลงคะแนนเสียง (445 เสียง) สนับสนุนให้ประธานาธิบดี Hosni Mubarak ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2524 ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปอีกเป็นสมัยที่ 4 (ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2542 ภายหลังที่ได้รับเลือกตั้ง ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Atef Ebeid ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2542 (ค.ศ. 1999) อียิปต์มีพรรคการเมือง 13 พรรคที่สำคัญ ได้แก่ National Democratic Party (NDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมีประธานาธิบดีมูบารัคเป็นประธานพรรค Labour Party, New Wafq Party, Liberal Party (Ahrar), Tabammu (Progressive Unionist Party) และ Democratic Nasserite Party พรรค NDP ของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2521 ในสมัยประธานาธิบดีซาดัต และได้รับเลือกตั้งเข้าบริหารประเทศตลอดมา

รัฐสภาอียิปต์มี 2 สภา คือ - สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 454 คน มาจากการเลือกตั้ง 444 คน และประธานาธิบดีแต่งตั้ง 10 คน มีวาระ 5 ปี ประธานรัฐสภา คือ Dr. Ahmed Fathi Sorour - สภาที่ปรึกษา (Shura Council) มีสมาชิก 285 คน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลสาขาอาชีพต่าง ๆ จำนวน 2 ใน 3 (190 คน) อีก 95 คน ประชาชนเป็นผู้เลือก มีวาระ 3 ปี

ตำแหน่งสำคัญปัจจุบัน
ประธานาธิบดี Mohamed Hosni Mubarak ดำรงตำแหน่งหลังจากประธานาธิบดี อันวาร์ ซาดัด ถูกลอบสังหารในปี 2524 (ค.ศ.1981) จนถึงปัจจุบันนายกรัฐมนตรี Dr. Amed Nazif ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีเข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2547 พร้อมกับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

การแบ่งเขตการปกครอง
อียิปต์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 เขตปกครอง (Governorate) โดยประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการเขตปกครอง (Governor) ซึ่งเป็นผู้นำในรัฐบาลท้องถิ่น แต่ละเขตปกครองจะแบ่ง เป็นเมือง (cities) และหมู่บ้าน (villages) โดยมีสภาท้องถิ่นควบคุมดูแลการบริหารงานของรัฐบาล ท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นจะต้องประกอบด้วยกรรมกรและเกษตรกรอย่างน้อยครึ่งหนึ่งและผ่าน การเลือกตั้งจากราษฎรในเขตปกครองนั้นโดยตรง

6. สภาพทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มูลค่าประมาณ 93.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คาดการณ์ ปี 2550)
รายได้เฉลี่ยต่อหัว 5,400 เหรียญสหรัฐฯ (ปี 2550 ประมาณการณ์)
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปี 2548 ร้อยละ 6.9 ต่อปี
ปี 2550 ร้อยละ 7.2 ต่อปี
ระบบการเงิน เงินปอนด์อียิปต์ (Egyptian Pound: L.E.) และเพียสเตอร์(Piastre)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ปอนด์อียิปต์ เท่ากับ 100 เพียสเตอร์
1 เหรียญสหรัฐฯประมาณ 5.67 ปอนด์อียิปต์ (2550)
ผลผลิตน้ำมัน (ม.ค.-ก.ย. 2548) ปริมาณผลิต 25.5 ล้านตัน บริโภค 20.0 ล้านตัน
รายได้จากคลองสุเอซ (ม.ค-ต.ค. 2548) รายได้ 2,864.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศอียิปต์ ขึ้นอยู่กับสาขาการผลิตสินค้าและ
การบริการเป็นสำคัญ สาขาการผลิตสินค้าเรียงลำดับมูลค่าสูงสุด ประกอบด้วย อุตสาหกรรมและเหมืองแร่ (ร้อยละ 19) เกษตรกรรม (ร้อยละ 16) น้ำมันและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 9) คิดเป็นมูลค่ารวมกันร้อยละ 44 ส่วนสาขาการบริการสำคัญ ประกอบด้วย การค้าการเงินและประกันภัย (ร้อยละ 21) การให้บริการภาครัฐและบริการสังคม (ร้อยละ 13) การขนส่ง (ร้อยละ 9) โรงแรมและภัตตาคาร (ร้อยละ 2) โดยปี 2549มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 6.9 และอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.2 ในปี 2550

จากการที่อียิปต์มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางของโลก ที่มีเส้นทางเดินเรือเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลางแอฟริกาตอนเหนือ และประเทศภูมิภาคในเอเซีย โดยเฉพาะการใช้เส้นทางเดินเรือผ่านคลองสุเอช ประกอบกับมีท่าเรืออำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า อียิปต์จึงสามารถทำหน้าที่เป็นประตูนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่เหมาะสม ทั้งนี้ เฉลี่ยแต่ละปีจะมีจำนวนเรือแล่นผ่านคลองสุเอชประมาณ 13,000-14,000 ลำ ทำให้มีรายได้จากค่าผ่านคลอง ประมาณ 2,000-2,500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

ผลผลิตด้านการเกษตรที่สำคัญ
- ฝ้าย เป็นพืชส่งออกที่สำคัญ ผลผลิตฝ้ายของอียิปต์มีประมาณปีละ 2.5 -2.6 ล้านตันหรือร้อยละ 40 ของปริมาณฝ้ายของโลก ชาวอียิปต์ปลูกฝ้ายมาตั้งแต่สมัยโบราณตลอดแนวสองฝั่ง ลุ่มแม่น้ำไนล์ ฝ้ายอียิปต์ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดีแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีเส้นใยที่ยาวมี ความแน่นหนาและมีความนุ่ม และรัฐบาลอียิปต์ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อผลิตใช้ในประเทศและเพื่อการส่งออก

- ข้าวสาลี ผลผลิตข้าวสาลีของอียิปต์มีประมาณ 5.4 ล้านตัน ใช้ในการทำขนมปัง ซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวอียิปต์ การบริโภคข้าวสาลีมีแนวโน้มลดลงจากเดิม เนื่องจากมีการบริโภคข้าวและมันฝรั่งแทนเพิ่มขึ้น ประกอบกับข้าวสาลีผลิตได้ไม่เพียงพอกับการบริโภคต้องนำเข้า จากต่างประเทศ (ร้อยละ 70 เป็นการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา) ทำให้อุตสาหกรรมการผลิต ขนมปัง ได้เปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบอื่นๆ เช่น แป้งข้าวโพดขาว เป็นส่วนผสมมากขึ้น

- ข้าว เป็นพืชที่ปลูกในอียิปต์มากกว่า 1,400 ปี เป็นข้าวเมล็ดสั้นกลม พื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตข้าวมีปริมาณเพิ่มขึ้นภายหลังการจัดสร้างเขื่อนเก็บน้ำที่อัสวาน ผลผลิตข้าวอียิปต์มี ประมาณปีละ 5.8-6 ล้านเมตริกตัน ใช้บริโภคในประเทศประมาณ 3.2 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะส่งออกไปจำหน่ายในประเทศแอฟริกาและตะวันออกกลาง เช่น ซีเรีย ตุรกี ลิเบีย ซูดาน เคนย่า

- พืชผักผลไม้
มะเขือเทศ มีปริมาณการผลิตมากเป็นอันดับห้าของโลก ผลผลิตมีประมาณ 2.8-2.9 ล้านตัน โดยสามารถปลูกได้เกือบตลอดทั้งปี และเป็นพืชผักส่งออกอันดับหนึ่งไปยุโรปและประเทศอาหรับ รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูป อาหาร
หอมหัวใหญ่ อียิปต์ผลิตได้ประมาณ 9.8 ล้านตัน เป็นสินค้าส่งออกไปตลาดยุโรปสำคัญอีกชนิดหนึ่ง พืชผักที่มีความสำคัญรองลงมาคือ มันฝรั่ง ส่วนผลไม้ที่เป็นสินค้าส่งออก คือส้ม มะม่วง ผลไม้ อื่นๆที่ปลูกได้และส่วนใหญ่ใช้สำหรับการบริโภคภายในประเทศได้แก่ องุ่น แอปเปิล สตอเบอรี แตงโม เป็น ต้น

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ
- อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร มีมูลค่าการผลิตประมาณ 3-3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมเกือบ 1,500 โรง ผลิตสินค้าทั้งอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูปต่างๆ ได้แก่ ผักผลไม้แช่แข็ง น้ำผลไม้ แยม เนื้อปรุงแต่ง-แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทอาหารชั้นนำของต่างชาติที่ร่วมลงทุนตั้งโรงงานผลิตในอียิปต์เพื่อจำหน่ายในประเทศและใช้เป็นฐานส่งออกไปยังตลาดในตะวันออกกลาง ยุโรป และประเทศแอฟริกา ใกล้เคียง

- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
พรมและผ้าที่ใช้ในครัวเรือน(เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ผ้าปูโต๊ะ) เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ โดยผ้าที่ใช้ในครัวเรือน มีตลาดสำคัญคือประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และสหราชอาณาจักร ส่วนใหญ่ผู้ผลิตเป็นโรงงานขนาดเล็กทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับพรมปูพื้น (ทอด้วยเครื่องจักร) ผู้ผลิตรายใหญ่คือ Oriental Weavers ก่อตั้งในปี 1979 เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด 1 ใน 5 ของโลก ผลิตพรมได้ปีละ 8.7 ล้านตัน ส่วนใหญ่ (80%) ส่งไปจำหน่ายใน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง

ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีโรงงานผลิตที่เป็นของรัฐ 12 แห่ง ผลิตชุดนอน ชุดชั้นใน เสื้อยืด ชุดสูทและเสื้อผ้าสำเร็จรูปอื่นๆ โดยสินค้าส่วนใหญ่มีคุณภาพปานกลางและต่ำ มีผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปชั้นนำของภาคเอกชนที่ผลิตโดยใช้เครื่องหมายการค้าของตน รวมทั้งผลิตภายใต้ License หรือ Franchise ของบริษัทเสื้อผ้าชั้นนำด้านการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของยุโรปและสหรัฐอเมริกา และบางรายก็รับจ้างผลิตให้กับบริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง

- อุตสาหกรรมยา บริษัทผู้ผลิตยาชั้นนำได้แก่บริษัท Hoechst, Pfizer, Swiss Pharma เริ่มเข้ามาลงทุนในอียิปต์ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 โดยเข้าไปร่วมทุนกับผู้ผลิตยาท้องถิ่น นับว่าอุตสาหกรรมยาของอียิปต์ได้เจริญรุดหน้ามาก ทำให้อียิปต์เป็นผู้ผลิตและเป็นตลาดยาใหญ่สุด
ในตะวันออกกลาง

- อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า อียิปต์มีโรงงานทำรองเท้าและเครื่องหนังขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้มีการแข่งขันสูง ปัจจุบันมีผู้ผลิตรองเท้าและเครื่องหนังหลายพันราย เป็นผู้ผลิต ขนาดใหญ่ และทันสมัยประมาณ 500 ราย ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ และที่เขตอุตสาหกรรมเมือง 10th Ramadan และ 6th October

- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเลคโทรนิกส์ มีจำนวน 28 แห่งในอียิปต์ ประมาณร้อยละ 45 เป็นการลงทุนจากต่างประเทศโดยรัฐบาลให้สิ่งจูงใจด้านยกเว้นภาษี โดยมีโรงงานผลิตตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ที่ทำน้ำอุ่น พัดลม เตารีด เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ฯลฯ ทั้งโรงงานที่เป็นของรัฐและภาคเอกชน

- อุตสาหกรรมรถยนต์ อียิปต์มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จากต่างประเทศเข้ามาตั้งโรงงานผลิตและ ประกอบรถยนต์หลายราย โดยโรงงานประกอบรถยนต์ ได้แก่ Arab American Vehicles (AAV), Citroen, General Motors (GM), Hyundai, , Nasco, Peugeot, Suzuki, Mercedes-Benz สำหรับรถโดยสารและรถบรรทุก มีบริษัทประกอบรถโดยสารและรถบรรทุก ได้แก่ El-Tramco, Ghabbour, GM, MICAR, Nasco รถบรรทุกส่วนหนึ่งจะส่งออกไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศอาหรับ

- อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง อียิปต์มีกำลังคนในอุตสาหกรรมภาคนี้ถึง 1.2 ล้านคน ซึ่งถือว่ามีเป็นจำนวนมากที่สุดในตะวันออกกลาง สินค้าเซรามิคและเครื่องสุขภัณฑ์ มีบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ คือ Al-Jawhara, Al Pharaana, Aracemco, Ceramica Cleopatra, Egyptec, Gravena,
Ideal Standard และ Lecico ผู้นำตลาดรายใหญ่คือ Ceramica Cleopatra ตั้งขึ้นในปี 1987 เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ เซรามิค กระเบื้อง ปูพื้น/ผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ส่งออกต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศอาหรับ และแอฟริกา

- ปูนซิเมนต์ มีโรงงานใหญ่อยู่ 5 แห่ง ทั้งหมดเป็นของรัฐ สามารถผลิตปูนได้รวม 18 ล้านตัน เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นผลให้โรงงานที่มีอยู่ขณะนี้ต้องขยายกำลังการผลิต และรัฐยังมีแผนที่จะขายหุ้นบางส่วนของโรงงานปูนซิเมนต์ ให้แก่ ภาคเอกชน

- การท่องเที่ยว เป็นธุรกิจสำคัญที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศมาสู่อียิปต์จำนวนมาก โดยมี จำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 5-6 ล้านคน มีรายได้เข้าประเทศประมาณ 4 พันกว่าล้านเหรียญสหรัฐฯ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป ซึ่งมีเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของนักเที่ยวทั้งหมด

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือ โบราณสถานซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กว่า 6,000 ปี และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆได้แก่บริเวณทะเลแดง(Red Sea) ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมดำน้ำชมปะการัง และสัตว์ทะเลใต้น้ำ
โครงสร้างเศรษฐกิจของอียิปต์ แม้จะมีการผลิตทั้งด้านเกษตรและอุตสาหกรรมที่สามารถใช้ในประเทศ และส่งออกในบางสินค้าได้ แต่ก็ยังต้องพึ่งการนำเข้าเพื่อนำใช้ในการผลิตในภาคเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ อาหารโดยการนำเข้าข้าวสาลี เนื้อสัตว์ พืชน้ำมัน อาหารแปรรูป

ส่วนการนำเข้าภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ สินค้ากึ่งสำเร็จต่าง ประเภทชิ้นส่วน/ส่วนประกอบเพื่อนำมาใช้ในการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป อาทิ เส้นใยประดิษฐ์ คอมเพรสเซอร์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

นโยบายด้านเศรษฐกิจ
รัฐบาลอียิปต์ได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจเมื่อปี 1989 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี และขายกิจการของรัฐให้แก่ภาคเอกชน ด้านการเงินได้เปลี่ยนระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นแบบลอยตัว ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของอียิปต์เจริญเติบโตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณลดลงมาก

รัฐบาลปัจจุบันภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี Dr. Amed Nazif ได้มีนโยบายหลักมุ่งส่งเสริมการลงทุนที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน และปกป้องผู้มีรายได้น้อย โดยให้การอุดหนุนและจัดหาสินค้าจำเป็นขั้นพื้นฐาน และการให้บริการที่สอดคล้องความต้องการและรายได้ ทั้งนี้รัฐจะเร่งรัดให้แปรเปลี่ยนไปสู่ เศรษฐกิจแบบตลาดเสรี (Free-market Economy)

7. สื่อและสไตล์งานโฆษณา แบรนด์ต่างๆในประเทศอียิปต์

Brand
-Rotato: ในปี ค.ศ.2008 ตลาดมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบสูงมาก Rotato ได้สร้างประวัติศาสตร์ในรอบ 10 ปี เป็นแบรนด์เดียวที่ประสบความสำเร็จซึ่งเข้ามาในช่วงการแข่งขันทางการตลาดที่สูงมาก ตั้งแต่วางตลาดมา Rotato มีส่วนแบ่งการตลาด 15% ของ Giant Chipsy และตอนนี้ Rotato เป็นแบรนด์ที่แข่งแกร่งเป็นอันดับ 2 ของตลาดมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ

-BM Card
: เป็นครั้งแรกที่การทำการตลาดเพื่อเปิดตัว BM card ประสบความสำเร็จมาก BM card เป็น debit card แบบแรกสำหรับเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งประสบความสำเร็จมากในอียิปต์ และสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนคือมีสมาชิกบัตรมากถึง 150,000 คน ในเวลาเพียงแค่ 18 เดือน
Molto: การทำการตลาดประสบความสำเร็จมากหลังจากที่ได้เปลี่ยนสินค้าจากขนมพวกสแน็กเป็น croissant และเป็นแบรนด์ที่มีแพ็คเก็จโดดเด่น นอกจากนี้ชื่อ Molto ยังเป็นชื่อที่ใช้เรียกแทน croissant

-Chipsy: Chipsy เป็นแบรนด์เดียวที่ขายมันฝรั่งเค็มในอียิปต์มากว่า 20 ปี จนกระทั่ง PepsiCo ได้เปิดตัวสินค้าแบรนด์ใหม่ คือ Lay’s หลังจากใช้เงินหลายล้านเพื่อแก้ไขปัญหาแบรนด์ ในปี ค.ศ. 1998 แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ส่วนแบ่งการตลาดก็ลดลง Chipsy ก็ตัดสินใจหันไปพึ่งบริษัทหนึ่งวางแผนการตลาดใหม่ ในเวลาแค่ 2 ปี ทำให้ PepsiCo รู้ว่า Chipsy ไม่ใช่คู่แข่งที่จะโค้นล้มได้ จึงตัดสินใจซื้อหุ้นของ Chipsy ในราคา 3 เท่าตัว
Bake Rolls: Backe Rolls เป็นแคร็กเกอร์รสเค็ม อยู่ในเครือของ Edita มันเป็นสินค้าใหม่ ที่มีความแตกต่างจากตลาดมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ

-Lion Chips: หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการรวม 2 คู่แข่งขันยักษ์ใหญ่ และมีส่วนแบ่งการตลาดจาก 12% เป็น 20% Lion Chips เป็นโอกาสที่น่าสนใจลงทุน และอเมริกานา กรุ๊ป ก็เปิดตัว Lion Chipsในตลาดขนมขบเคี้ยว

-Egypt Airline: EgyptAir เป็นสัญลักษณ์ของสายการบินขนส่งของสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ และเป็นสมาชิกของ Star Alliance ศูนย์ปฎิบัติการอยู่ Cairo International Airport ซึ่งจะจัดตารางการเดินทาง และมีบริการขนส่งมากว่า 70 ที่ทั่วตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และอเมริกา

-El Misrieen: ในตอนแรก El Misrieen อยู่ในตลาด white cheese เป็นแพ็กเก็จและแบรนด์ของ baramily แล้วก็โดนปิดไปหลังปี 98 ตอนนี้มีคู่แข่งทำตามกันมากมาย แต่ baramily ก็มีส่วนแบ่งตลาดเยอะสุด

-Enjoy: Enjoy เปิดตัวโดยบอกว่าตัวเองเป็นโยเกิร์ตที่ช่วยย่อยอาหาร ซึ่งสำเร็จตามยอดขาย ตอนนี้แนวคิดนี้กำลังเป็นที่นิยม ทั้งบริษัทเล็กจนถึงบริษัทข้ามชาติเอาไปใช้กัน

-Teama: Teama มันเปิดตัวด้วยการเป็นชีสรูปสามเหลี่ยม ถึงตลาดรับรู้น้อย และอยู่ในอันดับที่ 5 มีส่วนแบ่งตลาด 13% แต่ตอนนี้ Teama ขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดด้วยส่วนแบ่ง 34% และได้ขยายเยอะขึ้น มีทั้ง triangle cheese, square cheese, Spread cheese & White cheese และบริษัทได้รับรางวัล บริษัทส่งออกอาหารที่ใหญ่ที่สุดในอียิปต์

-President: ได้เปิดตัวในตลาดอียิปต์ปี 97 ถือว่าตัวเองเป็นชีสสามเหลี่ยมในกลุ่มพรีเมี่ยมแข่งกับคู่แข่งสำคัญคือ La Vache Qui Rit’s ในอียีปต์ ตอนแรก La Vache Qui Rit’s ครองตลาดชีสพรีเมี่ยม แต่โดนโค้นล้มโดย President ที่เข้ามาในตอนนี้ และมีส่วนแบ่งถึง 25.9% ทั้งที่มาหลัง Teama และได้ขยายายสินค้าให้มากขึ้น

-Sparkle: ภายในเวลาเพียง 2 ปี Sparkle ได้กลายเป็นอันแบรนด์แชมพูอันดับหนึ่งของอียิปต์ ในปี 2002 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 16.8%

-Ringo: ในเวลาเพียงแค่ปีเดียว Ringo ได้สร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Media
อียิปต์เป็นผู้นำสื่อในอียิปต์และกลุ่มชนชาวอาหรับ สื่อสิ่งพิมพ์ของอียิปต์เป็นสื่อหนึ่งที่มีอิทธิพลและคนอ่านเยอะมาก นอกจากนี้ โทรทัศน์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ยังได้เผยแพร่ไปยังทุกกลุ่มชนชาวอาหรับ พร้อมกับโชว์ความเป็นเมืองแห่งการผลิตสื่อ จึงสามารถถือได้ว่า อียิปต์เป็น Hollywood of the East

ในอียิปต์สื่อวิจารย์รัฐบาลถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็มีกฎหมายเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ ห้ามมิให้หมิ่นประมาดประธานาธิบดี สถาบันของรัฐ และผู้นำต่างประเทศที่อยู่ในอียิปต์ มิเช่นนั้นจะถูกลงโทษ

อียิปต์เป็นชาติแรกที่มีจานดาวเทียมเป็นของตัวเอง ชื่อว่า Nilesat 101 เคเบิลทีวีของเอกชนมี Dream 1, Dream 2 และ Al-Mihwar TV ส่วนวิทยุที่เคยผูกขาดโดยรัฐก็หมดไปในปี 2003 เมื่อภาคเอกชนเข้ามาครองสื่อเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับดนตรี

สื่อทีวีที่เป็นของรัฐ ที่เป็นระดับชาติ มี 2 ช่อง และที่เป็นระดับภูมิภาคอีก 6 ช่อง แต่คนดูจำนวนหนึ่งก็ยังดูข่าวของพวกเขาทางช่อง pan-Arab อียิปต์เป็นผู้นำทางด้านเคเบิลทีวี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มชนชาวอาหรับ อียิปต์จึงก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมวิทยุกระจายเสียง และสามารถเข้าไปทำต่อในด้านภาพยนตร์
ในปีค.ศ. 2006 มีสื่อใหม่เข้ามาในประเทศอียิปต์ เป็นสื่อที่มีเสรีภาพไร้พรหมแดน ซึ่งเรียกว่า internet คนอียิปต์จำนวนถึง 6 ล้านคนใช้อินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตมักจะถูกใช้เพื่อต่อต้านการเมือง มีการอัพเดทข่าวและพูดคุยกันอย่างมากมายในหมู่ของประชาชน และยังเผยแพร่เรื่องราวที่ห้ามไม่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ในอินเตอร์เน็ตด้วย ส่งผลให้คนเขียนบล็อคจำนวนหนึ่งถูกจับกุมในระหว่างการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย

The press
• Al-Ahram - state-owned daily, the oldest newspaper in the Arab world
• Al-Ahram Weekly - English-language
• Al-Jumhuriyah - state-owned daily
• Al-Akhbar - semi state-owned daily
• Al-Ahali - opposition
• Al-Wafd - opposition
• Al-Messa - pro-government
• Middle East Times - English-language weekly

Television
• Egypt Radio Television Union (ERTU) - state-run, operates domestic and satellite networks, including Nile TV International and Nile TV thematic channels
• Dream TV - privately-owned satellite network, operates Dream 1 targeting young viewers and Dream 2, an entertainment channel
• Al-Mihwar - private, via satellite

Radio
• Egypt Radio Television Union (ERTU) - state-run, operates eight national networks and external services Radio Cairo and Voice of the Arabs
• Nile FM - private, Western pop
• Nogoum FM - private, Arabic pop